แบบทดสอบออนไลน์ พร้อมแหล่งเรียนรู้ ความรู้ความเข้าใจ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ขั้นพื้นฐาน Cyber Security - hongpagkru

27 เม.ย. 2566

แบบทดสอบออนไลน์ พร้อมแหล่งเรียนรู้ ความรู้ความเข้าใจ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ขั้นพื้นฐาน Cyber Security

 แบบทดสอบออนไลน์ พร้อมแหล่งเรียนรู้ หลักสูตร แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย  โดย สพป.ราชบุรี เขต 1 ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ 80% รับเกียรติบัตรทางอีเมล

ตัวอย่างเกียรติบัตร


1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

   ในปัจจุบันเรามีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กันแทบทุกคนแล้ว แถมในอนาคตอันใกล้ยังอาจจะมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้เพิ่มอีกคนละหลาย ๆ ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นของติดตัว เช่น นาฬิกา กำไลข้อมือ แว่นตา ฯลฯ ไปจนถึงของใช้ใหญ่ ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือระบบควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้าน จนเรียกกันว่าเป็น "อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง" (Internet of Things) ไปแล้ว การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่าการ "ออนไลน์" (Online) หรือการเข้าสู่โลก "ไซเบอร์" (Cyber) นั้นมีประโยชน์และสร้างความสะดวกอย่างมหาศาลทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน การสันทนาการหรือบันเทิง ต่าง ๆ เพราะทำให้เราสามารถติดต่อกับผู้คน หรือใช้บริการสารพัดอย่างได้โดยไม่ต้องเดินทางไปพบกันจริง ๆ และทำได้ตลอด 24 ชั่วโมงด้วย แต่ในทางกลับกันก็เป็นช่องทางให้อันตรายต่าง ๆ ที่เรานึกไม่ถึงเข้ามาถึงตัวเราหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ รอบตัวเราได้ตลอดเวลา โดยที่เราไม่รู้เห็นหรือไม่ทันระวังตัวเลยเช่นกัน

ทางแก้ปัญหานี้คงไม่ใช่การเลิกออนไลน์ไปเลย แต่ต้องรู้จักและเข้าใจวิธีใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่ออินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง ปลอดภัย รู้หลักการและเทคนิค รวมถึงข้อควรระวังหรือวิธีแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวหรือ "มีปัญหาแล้วค่อยหาคนถาม" อีกต่อไป แต่ต้องเตรียมพร้อมรับมือตั้งแต่เริ่มเข้าใช้งานเลย ไม่เช่นนั้นกว่าจะรู้ตัวก็อาจสายไป จนตกเป็นเหยื่อของการโจมตีหรือภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ เพราะ   ภัยออนไลน์ในปัจจุบันเพิ่มความซับซ้อนขึ้นมาก ขั้นตอนหรือมาตรการในการป้องกันตัวก็เลยต้องมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหลักสูตร Cyber Security เพื่อให้ตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างฉลาด รู้ทันกลโกงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

ในการนี้กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร จึงจัดทำหลักสูตร ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พื้นฐาน (Cybersecurity Fundamentals) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักรู้ในความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

1.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้อย่างปลอดภัยและแก้ปัญหาเบื้องต้นได้เมื่อต้องพบกับภัยคุกคาม

1.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมประเมินความเสี่ยงด้านไซเบอร์ได้โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่ถูกต้องเหมาะสม

1.4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง ปลอดภัย

1.5 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ (Understand) และใช้ (Use) เทคโนโลยีดิจิทัลในการนำเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แทปเลต มาใช้ในการปฏิบัติงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1.6 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเช้าถึงและใช้ดิจิทัลสำหรับการปฏิบัติงานและ การใช้ชีวิตประจำวันได้

1.7 เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรของสถานศึกษาสามารถเข้าถึง (Access) การเรียนรู้ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้จากทุกที่ ทุกเวลา

2. รูปแบบการอบรม

   การอบรมเป็นรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ซึ่งกำหนดให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ จากเนื้อหาให้ครบทุกบท เมื่อเรียนรู้ครบทุกบทเสร็จสิ้นแล้ว สามารถทำแบบทดสอบวัดความรู้ จำนวน 30 ข้อ

3. เนื้อหาการอบรม

    หลักสูตร ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พื้นฐาน (Cybersecurity Fundamentals) ประกอบด้วย

3.1 เทคโนโลยีกับปัญหาความปลอดภัย

3.2 การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้ปลอดภัย

  ด้วยความสามารถของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่สามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะดูหนัง, ฟังเพลง, เล่นเกม, ถ่ายหรือแต่งภาพ, จดบันทึก, คิดเลข, แชท LINE, เข้า Facebook, อ่านเว็บ, ค้นหาข้อมูลใน Google, รับส่งอีเมล์ หรือจะลงแอพต่าง ๆ เพิ่มเพื่อใช้งานได้สารพัดรูปแบบ ทำให้เกิดสังคมก้มหน้าไปทั่วโลก ด้วยลักษณะการใช้งานที่แต่ละคนต่างก้มหน้าก้มตา “จิ้ม” หน้าจอมือถือหรือแท็บเล็ตกันอย่างเอาเป็นเอาตาย และถ้าใครใช้ “เน็ตซิม” ด้วยละก็ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

3.3 ระวังอันตรายเรื่องข้อมูลส่วนตัว

  ปัจจุบันเป็นเรื่องสะดวกสบายที่จะชำระเงิน โอน ซื้อของ ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถทำได้โดยไม่ต้องออกจากบ้านไปที่ธนาคาร หรือตู้ ATM เพียงแค่ต้องกรอกข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ หรือล็อกอินด้วยชื่อและรหัสผ่านที่สมัครใช้งาน Internet Banking กับแต่ละธนาคารเอาไว้เพื่อเข้าไปทำธุรกรรม ซึ่งก็เคยมีกรณีหน้าเว็บปลอม หลอกให้กรอกชื่อและรหัสผ่านแล้วขโมยไปใช้งาน จึงควรใช้ความระมัดระวังและต้องสังเกตความผิดปกติบนหน้าเว็บอยู่เสมอก่อนที่จะกรอกข้อมูลส่วนตัวใด ๆ การโพสต์ข้อมูลส่วนตัวว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร อยู่กับใคร ฯลฯ บน Social Network ต่าง ๆ นั้น อย่าลืมว่าถึงอย่างไรเว็บออนไลน์เหล่านี้ก็ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัว อาจเป็นการเปิดช่องให้มิจฉาชีพหรือผู้ประสงค์ร้ายเข้ามาหาประโยชน์จากข้อมูลที่คุณเป็นผู้ป่าวประกาศบอกผู้คนทั้งโลกได้เป็นอย่างดี ก่อนโพสต์อะไรก็ควรคิดให้มากๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

3.4 ระวังอันตรายเรื่องข้อมูลตำแหน่งที่ตั้ง

        การแชร์ตำแหน่งที่อยู่ไว้บนอินเทอร์เน็ต เช่น Social Network ต่าง ๆ นั้นอาจนำภัยมาถึงตัวได้ เพราะเป็นการป่าวประกาศให้คนทั้งโลกรู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน บางทียังบอกว่าอยู่กับใคร อยู่คนเดียว ทำอะไรอยู่เป็นต้น ถ้าผู้ใดมาพบเห็นตำแหน่งที่อยู่ของคุณแล้วเห็นว่าเป็นโอกาสในการทำผิดคิดร้ายขึ้นมาก็อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นได้เช่นกัน

3.5 ระวังอันตรายจากการหลอกลวงรูปแบบต่าง ๆ

   บนอินเทอร์เน็ตนั้นมีการหลอกลวงสารพัดรูปแบบที่รอให้ผู้โชคร้ายมาติดกับ ไม่ว่าจะสร้างหน้าเว็บหลอกลวงที่หลอกให้เหยื่อกรอกข้อมูลสำคัญบางอย่างแล้วดักจับเอาไป จะซื้อขายสินค้าบนเน็ตก็ต้องระแวดระวัง คนซื้อก็กลัวคนขายจะเบี้ยวไม่ส่งของ คนขายก็กลัวว่าคนซื้อจะโกง นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวหลอกลวงที่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงแล้วแชร์ต่อ ๆ กันมา ผู้ใช้จึงควรใช้วิจารณญาณเป็นอย่างสูงในการเสพข้อมูลต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต

3.6 ระวังแอลพลิเคชั่นอันตราย

  อุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตในปัจจุบันนั้นมีความสามารถมากมาย ทำงานต่าง ๆ ได้สารพัดรูปแบบ โดยใช้ทั้งโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่มีให้มากับเครื่อง และดาวน์โหลดเพิ่มจาก App Store (iOS) หรือ Play Store (Android) ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลดมาติดตั้งเองนี้ก็ต้องเลือกดูดี ๆ ด้วย โดยเฉพาะใน Play Store ที่มักมีแอพไม่ดีปะปนอยู่ ซึ่งถ้าแค่หลอกให้ติดตั้งเฉย ๆ คงไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเจอแอพประเภทที่ดักจับการพิมพ์หรือข้อมูลสำคัญก็คงจะงานเข้าแน่ ๆ

3.7 Chat, Comment, Like และ Share อย่างไรให้ปลอดภัย

   การเขียน Blog หรือสร้างเว็บไซต์ ที่ให้มีการโพสต์เพื่อแสดงความคิดเห็นในหน้าเว็บได้นั้นต้องระวังผู้อื่นมาโพสต์ภาพหรือข้อความที่ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เนื่องจากเจ้าของเว็บหรือ Blog นั้นจะมีความผิดไปด้วย แม้แต่การแชทด้วยแอพต่าง ๆ กัน 2 คนก็ต้องระวังเรื่องการใช้คำพูดด้วย เพราะอาจถูกจับภาพหน้าจอมาเปิดเผยได้เช่นกัน นอกจากนี้การใช้รูปภาพหรือข้อความต่าง ๆ บนเว็บ ต้องระวังเรื่องลิขสิทธิ์และการให้เครดิตหรืออ้างอิงที่มาด้วย

3.8 ระวังอันตรายอื่น ๆ จากการออนไลน์ หรือใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสม

   การออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็มีข้อควรระวังหลายอย่าง ทั้งการแฮกหรือดักจับข้อมูลที่รับเข้าส่งออก ดักจับการพิมพ์เพื่อขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน การเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ในที่สาธารณะก็อาจเป็นอันตราย โดยเฉพาะ Wi-Fi ที่ให้ใช้ได้ฟรี อาจมีคนปล่อยสัญญาณให้เหยื่อเข้าไปใช้งานแล้วดักจับข้อมูลเอาไปทำเรื่องไม่ดีก็เป็นได้

3.9 ระวังผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม

      ปัจจุบันได้เกิดภาวะสังคมก้มหน้า ที่แต่ละคนเอาแต่ก้มหน้าก้มตา กด ๆ จิ้ม ๆ หน้าจอมือถือหรือแท็บเล็ต ไม่ว่าจะเป็นตอนอยู่บ้าน, ที่ทำงาน, ร้านอาหาร, รถเมล์, รถไฟฟ้า, เดินข้างทางหรือสถานที่ต่างๆ     ไม่เว้นแม้กระทั่งตอนขับรถ เรียกว่าหยิบขึ้นมาใช้งานทุกที่ที่มีโอกาส ซึ่งหลายคนอาจมีความเข้าใจไม่ถูกต้องทำให้ใช้อุปกรณ์ไม่ถูกกาละเทศะ ไม่รู้เวล่ำเวลา ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ นอกจากนี้ยังมีบางคนที่ใช้งานโดยไม่รู้ว่ามีค่าใช้จ่ายแอบแฝง โดยเฉพาะผู้เยาว์ที่ยังมีวุฒิภาวะไม่เพียงพอ

4. การวัดความรู้

       การทำแบบทดสอบวัดความรู้ จำนวน 30 ข้อ โดยมีเกณฑ์การผ่าน 80 เปอร์เซ็นต์ จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากเมล์ที่ระบุในแบบทดสอบออนไลน์

หมายเหตุ  :  อ้างอิงเนื้อหาจากคู่มือแนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ภาคประชาชน

              สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

เข้าหน้าหลักแบบทดสอบ คลิกที่นี่