รายงานผลการวิจัยและพัฒนา กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐา - hongpagkru

13 พ.ย. 2565

รายงานผลการวิจัยและพัฒนา กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐา

 



ตัวอย่างไฟล์รายงานผลการวิจัยและพัฒนา กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายงานผลการวิจัยและพัฒนา กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายงานการวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษา
ตอนต้น นำ เสนอแนวทางการใช้กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ทดลองใช้
กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการนำกรอบ
สมรรถนะผู้เรียน สำ หรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ ซึ่งผลการวิจัยนี้สะท้อน
ให้เห็นแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนาศักยภาพเด็กไทย
ในศตวรรษที่ 21

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้กระบวนการวิจัยแบบพหุวิธี (Multimethods
research) ประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร (Documentary study) การศึกษาภาคสนาม
(Field study) และการสนทนากลุ่ม (Focus group interview) และมีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย (Multi-instrument approach) โดยการดำ เนินการวิจัยแบ่งออกเป็น
3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ
กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 การทดลองนำกรอบสมรรถนะ
หลักไปทดลองใช้ในการพัฒนาผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นในสถานศึกษา และระยะที่ 3
การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการนำกรอบสมรรถนะผู้เรียนสำ หรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สู่การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบ
โมเดลเชิงโครงสร้างสมรรถนะของผู้เรียน ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป.1 – 3)
จากสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ ใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ จำ นวนทั้งสิ้น 2,337 คน โดยการ
สุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratification random sampling) 2) กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้กรอบสมรรถนะ
ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1 – 3) ในสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ
จำ นวน 6 โรงเรียน ซึ่งครอบคลุมใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ผู้บริหารสถานศึกษา 8 คน และครู 36 คน
(รวมจำ นวน 44 คน) โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)



ดาวน์โหลดไฟล์